สกรูปลายสว่าน สกรูเกลียวเหล็ก/สกรูเกลียวปล่อย ต่างกันอย่างไร
สกรูเกลียวเหล็ก ช่างส่วนมากจะเรียกว่า เกลียวปล่อย เพราะหลังจากยิงเข้าวัสดุเสร็จ ไม่ต้องมีน็อตตัวเมียยึดที่ปลายสกรู ก็คือการ "ปล่อย" ไว้เลย โดยสกรูเกลียวปล่อย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือสกรูปลายแหลม และสกรูปลายสว่าน
1. สกรูปลายแหลม (เกลียวปล่อยปลายแหลม นิยมเรียกสั้นๆว่า สกรูเกลียวปล่อย/เกลียวเหล็ก)
รูปร่างของสกรู ชนิดนี้ จะมีเกลียวตลอดแนวความยาว และบริเวณปลายของสกรูจะมีลักษณะแหลมคม นิยมนำมาใช้ยึดแขวนทั่วไป ใช้ได้ดีกับพุกและงานที่ยึดแบบปล่อยเกลียวทะลุผ่าน ส่วนใหญ่ยิงวัสดุบาง เข้ากับแปที่เป็นไม้
· เหมาะกับงานที่มักจะติดสกรูตัวนั้นๆแบบถาวร
· สามารถขัน ยึดชิ้นงานได้ด้วยตัวเองเลยเรียก Self-Tapping
· มีหลายรูปแบบให้เลือกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งวัสดุ ลักษณะหัวสกรู ลักษณะเกลียว ความยาวตัวสกรู
· นิยมใช้เจาะวัสดุที่ไม่หนามาก เช่น แผ่นไม้ พลาสติก แผ่นเหล็กบาง ฯลฯ กรณีที่วัสดุมีความหนา อาจจะต้องใช้สว่านเจาะนำ หรือใช้ "สกรูปลายสว่าน" แทน
สกรูปลายแหลม แบ่งตามประเภทวัสดุที่ต้องการยึด ออกเป็น 3 ประเภท
วัสดุแผ่นผนังเบา ฝ้า เพดาน (แปบาง0.5-0.8มม.) ใช้สกรูสมาร์ทบอร์ด และ สกรูเกลียวปล่อยยิปซั่มดำ(หรือสกรูไดร์วอลล์) ใช้สำหรับยึดแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือแผ่นสมาร์ทบอร์ด
วัสดุแผ่นผนังไม้ฝา(แปหนา1มม.+) ใช้สกรูไม้ฝาปลายแหลมผ่าข้าง ใช้สำหรับยิงแผ่นไม้ฝาผนัง แผ่นไม้ฝาระแนง
สกรูสำหรับเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับผนัง คือ สกรูเกลียวปล่อย หัวเตเปอร์ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับยึดวัสดุบางอย่างเข้ากับผนังโดยใช้ร่วมกับพุกพลาสติก
2. สกรูปลายสว่าน (เกลียวปล่อยปลายสว่าน)
รูปร่างของสกรู ชนิดนี้ จะมีเกลียวตลอดทั้งตัว ตัวไม่ต่างจากแบบปลายแหลม แต่ส่วนปลายเป็นลักษณะของดอกสว่าน ใช้สำหรับเจาะและยึดวัสดุชนิดต่างๆที่มีความแข็ง หนา มักจะนิยมใช้ในงานที่ต้องการฝังหัวสกรูให้เรียบไปกับพื้นผิว เช่น ยึดไม้ ยึดพลาสติก หรือยึดกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นงานยิงวัสดุที่มีความหนาเข้ากับแปที่เป็นเหล็ก
· สกรูประเภทนี้ ใช้สร้างรูและเกลียว ขณะขันเจาะชิ้นงาน
· สามารถขัน เจาะชิ้นงานไม่ต้องใช้ดอกสว่านเจาะนำ เลยเรียก Self-Drilling
· สกรูสามารถเจาะชิ้นงานที่มีความแข็งน้อยกว่าตัวสกรูเท่านั้น
· ใช้ยึดโครงเหล็ก โครงไม้ หลังคาเมทัลชีท กระเบื้อง ไม้ฝา ไม้อัด ผนังเบา ฯลฯ
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ที่ www.kastotrade.com ได้นะคะ